Category: puntham
ปันธรรม: 27 พฤษภาคม 2567: ตระเตรียมตนให้ดีพร้อม เพื่อพบพานผลอันเป็นที่รัก
•
ลพฺภา ปิยา โอจิตฺเตน ปจฺฉา จากพุทธพจน์นี้ บอกให้เรารู้จักเตรียมพร้อมก่อนลงมือทำสิ่งใดสักสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ชีวิต ที่ควรพร้อมด้วยความรู้ ความสามารถ รวมถึง คุณธรรม เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ ซึ่งต้องเตรียมดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ดูแลเอาใจใส่ จึงจะออกดอกออกผลได้ ทั้งนี้ ในขณะที่รอผลนั้น ขอเพียงมีความมุ่งมั่นตั้งใจ อดทน รอคอยผลลัพธ์ สิ่งสำคัญ ความไม่ประมาท พร้อมรับมือกับสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ
ปันธรรม: 15 พฤศจิกายน 2566 ความวิวาทเป็นภัย สามัคคีมีน้ำใจต่อกันดีกว่า
•
ปันธรรม: ความวิวาทเป็นภัย สามัคคีมีน้ำใจต่อกันดีกว่า วิวาทํภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโตสมคฺคา สขิลา โหถ เอสาพุทฺธานุสาสนี ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และเห็นความไม่วิวาทโดยเป็นทางเกษม แล้วจงกล่าววาจาอ่อนหวานอันสมัครสมานกันเถิด ในพระพุทธศาสนา แนวคิดการจัดการความขัดแย้ง จึงประกอบด้วย การกล่าววาจาที่อ่อนหวาน การสร้างความสามัคคีปรองดองพร้อมเพรียงกันในหมู่คณะและมีความประนีประนอมต่อกันและกัน จึงจะเกิด สันติภาพ ซึ่งเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา เพิ่มเติมเรื่องสันติภาพ สันติภาพตามวิทยาการสมัยใหม่ หมายถึง สภาวะแห่งความสันติ การไม่มีสงคราม ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น หรือ การยุติความขัดแย้งให้สงบลง หรือหมายถึงสถานะแห่งความเงียบ หรือความสุข ในตัวบุคคล โดยเน้นไปถึง สันติภาพภายนอก วิธีการสร้างสันติภาพตามวิทยาการสมัยใหม่จึงมุ่งเน้นไปที่การต่อต้านความไม่ยุติธรรม ต่อต้านการเอารัดเอาเปรียบ ต่อต้านความรุนแรง ต่อต้านความขัดแย้ง ต่อต้านสงคราม ต่อสู้รณรงค์เพื่อเรียกร้องให้เกิดสันติภาพทั้งในแง่สันติภาพของบุคคล ในสังคม ประเทศ และโลก สันติภาพตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง…
ปันธรรม: 31 ตุลาคม 2566 ความรู้ คือ สิ่งงอกงามอันประเสริฐสุด
•
วิชฺชา อุปฺปตตํ เสฏฺฐา บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชชาประเสริฐที่สุด พุทธพจน์นี้ มาจากเมื่อครั้งหนึ่งมีเทวดาทูลถามพระพุทธเจ้าว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น สิ่งอะไรหนอประเสริฐ บรรดาสิ่งที่ตกไป อะไรหนอประเสริฐ บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า ใครเป็นผู้ประเสริฐ บรรดาชนผู้แถลงคารม ใครเป็นผู้ประเสริฐ ฯ เทวดาองค์หนึ่งที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ ได้ฟังคำถาม จริงกล่าวแทรกขึ้นมาว่า “เหตุใดท่านจึงถามปัญหาเช่นนี้กับพระพุทธองค์ เราจะตอบคำถามของท่านเอง” จากนั้นจึงตอบคำถามตามความเชื่อของตนว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ข้าวกล้าเป็นประเสริฐ (เพราะเมื่องอกแล้วก็จะเป็นอาหาร) บรรดาสิ่งที่ตกไป ฝนเป็นประเสริฐ (เพราะเมื่อฝนตก ข้าวกล้าทั้งหลายก็จะงอกขึ้น) บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า เหล่าโคเป็นประเสริฐ(เพราะสัตว์ทั้งหลายเมื่อได้บริโภค เบญจโครส [1] แล้วก็จะอยู่สบาย) บรรดาชนผู้แถลงคารม บุตรเป็นประเสริฐ (เพราะบุตรนั้นไม่กล่าวร้ายให้มารดาบิดา) เทวดาองค์อื่นที่ฟังอยู่ แม้จะได้คำตอบจากเทวดาด้วยกัน แต่ก็ยังยืนยันที่จะถามคำถามเหล่านี้กับพระพุทธเจ้าอีกครั้ง พระพุทธเจ้าจึงตรัสพุทธพจน์ขึ้นต้นว่า วิชฺชา อุปฺปตตํ เสฏฺฐา … เป็นคำตอบว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ความรู้เป็นประเสริฐ (เพราะความรู้…
ปันธรรม: 16 ตุลาคม 2566 ถึงเป็นเรื่องจริงเรื่องดี ก็ควรพูดให้ถูกเวลา
•
ถึงเป็นเรื่องจริงเรื่องดี ก็ควรพูดให้ถูกเวลา วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ วาจัง ปะมุญเจ กุสะลัง นาติเวลัง ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินกาล คำพูดนั้นมีความสำคัญมาก คำพูดที่ดีย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ คำพูดที่ไม่ดีย่อมก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย ดังนั้นจึงควรพูดแต่คำพูดที่ดี และต้องพูดให้เหมาะกับกาลเทศะด้วย คำพูดที่ดีนั้น ประกอบด้วยลักษณะ 5 อย่าง ดังนี้ 1) กล่าวในกาลที่สมควร 2) กล่าวคำสัตย์ 3) กล่าววาจาสุขุม ละเอียด ไม่หยาบคาย 4) กล่าวคำที่มีประโยชน์ในชาตินี้และชาติหน้า 5) กล่าวคำประกอบไปด้วยจิตเมตตา นิทานชาดก: ราธชาดก พราหมณ์กับนกแขกเต้า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดนกแขกเต้า ชื่อว่า ราธะ มีน้องชื่อ โปฏฐปาทะ พรานคนหนึ่งจับลูกนกแขกเต้าสองพี่น้อง ไปให้แก่พราหมณ์คนหนึ่งในกรุงพาราณสี พราหมณ์เลี้ยงดูนกแขกเต้าไว้ในฐานะบุตร โดยพราหมรณ์มีภรรยาเป็นแต่นางพราหมณี ที่เป็นหญิงไม่รักษาเนื้อรักษาตัว เป็นคนทุศีล วันหนึ่ง ก่อนพราหมณ์จะไปทำการค้า…
ปันธรรม: 3 ตุลาคม 2566 อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ
•
มา ชาตึ ปุจฺฉ จรณญฺจ ปุจฺฉ อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ • พระไตรปิฎก เล่มที่ 15 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 7 สังยุตตนิกาย สคาถวรรค อรรถกถาสุนทริกสูตรที่ 9 • อมฤตพจนา พุทธศาสนสุภาษิต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
ปันธรรม: 28 กันยายน 2566 มุ่งร้ายเขา บาปนั้นย่อมเข้าตัว
•
ปันธรรม: 28 กันยายน 2566 มุ่งร้ายเขา บาปนั้นย่อมเข้าตัว อปฺปทุฏฺฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส ตเมว พาลํ ปจฺเจติ ปาปํ สุขุโม รโช ปฏิวาตํว ขิตฺโต ผู้ใดประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสดุจเนิน บาปย่อมกลับถึงผู้นั้นซึ่งเป็นคนพาลนั่นเอง เหมือนธุลีอันละเอียดที่เขาซัดทวนลมไปฉะนั้น (ขว้างฝุ่นทวนลม) ที่มา: พระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 17 ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ 9 เรื่อง นายพรานสุนัขชื่อโกกะ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=19&p=9 พุทธพจน์นี้ มาจากเรื่องของ นายพรานสุนัขชื่อโกกะกับพระภิกษุรูปหนึ่ง วันหนึ่ง นายพรานสุนัข ชื่อ โกกะ ถือธนูพร้อมฝูงสุนัขออกไปป่า พบกับภิกษุกำลังบิณฑบาตอยู่ระหว่างทาง เห็นแล้วรู้สึกโกรธ และคิดว่า “วันนี้เจอคนกาลกิณี…
ปันธรรม: 25660904 อย่ามัวมองแต่ทิศที่ทุกข์
•
ปันธรรม: 25660904 อย่ามัวมองแต่ทิศที่ทุกข์ ทิศมี 8 ทิศ 16 ทิศ ใยคิด มองเพียง ทิศเดียวเล่า ลองเปลี่ยน มุมมอง ให้ใจเบา ให้ทุกข์เพลา เพิ่มสุข สบายใจ คนเราเป็นทุกข์ ก็เพราะไปคิดแต่เรื่องทุกข์เรื่องเดียว ไม่รู้จักเปลี่ยนอารมณ์ ไม่รู้จักเปลี่ยนแนวคิด คิดแต่เรื่องที่จะทำให้เป็นทุกข์ มองด้านเดียว ทิศมันก็มีตั้ง 8 ทิศ 16 ทิศ นี่ เรามองอยู่ทิศเดียวทำไม มองไปทิศนั้นไม่สบายตา มองไปทิศโน้นบ้างทิศนี้บ้าง มันมีทิศที่สบายตาสบายใจอยู่เยอะแยะ แล้วทำไมไปมองจ้องอยู่ที่ตรงทิศที่เป็นทุกข์ล่ะ จากหนังสือ ทำใจให้เป็นสุข บท มองโลกในแง่ดี หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ – พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร) สนใจอ่านฉบับเต็ม: http://www.openbase.in.th/files/panya004.pdf #อย่ามัวมองแต่ทิศที่ทุกข์ #ทิศ #8ทิศ #16ทิศ #เปลี่ยนมุมมอง…
ปันธรรม: 25660829 ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้
•
ปันธรรม: 25660829_ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ โดยทั่วไปถือกันว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่าสิ่งใด เมื่อถึงคราวจำเป็นคนเราอาจสละทุกสิ่งทุกอย่างได้ เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิต หากพิจารณาตามแนวของพระพุทธศาสนาก็เป็นจริงเช่นนั้น พระพุทธศาสนาถือว่า รากฐานของชีวิตคือความดี หากมีความดีไม่ถึงขั้น ก็จะไม่ได้ความเป็นมนุษย์ ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก เมื่อชีวิต ซึ่งก็คือ การที่ได้มาเป็นมนุษย์ นั้นมีค่า เราจึงควรใช้ชีวิตให้สมค่าของชีวิต โดยการทำความดี ด้วยการไม่ทำบาปทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม การทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ และ การประกอบประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ไม่ปล่อยชีวิตให้เป็นไปอย่างเปล่าประโยชน์ ประพฤติปฏิบัติแต่คุณงามความดี จึงได้ชื่อว่ามี สุชีวิต คือ มีชีวิตที่ดีงาม พระพรปีใหม่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานแก่ประชาชนเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554…
ปันธรรม: 25660828 ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์
•
ปันธรรม: 25660828 ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ ปัญฺญา ว ธเนน เสยฺโย “ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์” . เงินทองทรัพย์สิ่งสิ้น……….วัวควาย โจรลักขโมยขาย…………….แย่งยื้อ ซื้อสรรพสิ่งทั้งหลาย………..ด้วยทรัพย์ นั้นแล แต่มิอาจใช้ซื้อ……………….สุขแท้นิพพาน . ปัญญาเป็นทรัพย์ล้ำ…………เลอเลิศ เป็นสิ่งอันประเสริฐ…………..ยิ่งล้น อาจก่อเกียรติช่วยเชิด………ชูชื่อ รู้จักนำตนพ้น…………………..จากห่วงทุกข์กรรม . พุทธศาสนสุภาษิตคำโคลง พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี
•
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ (นัตถิ สันติปะรัง สุขัง) ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี พระไตรปิฎก เล่มที่ 25 ขุททกนิกาย ธรรมบท สุขวรรคที่ 15