Category: Article

  • วัดนันตาราม ต. หย่วน อ.อเชียงคำ จ. พะเยา

    วัดนันตาราม ต. หย่วน อ.อเชียงคำ จ. พะเยา

             วัดนันตาราม ตั้งอยู่ที่ ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน งดงามไปด้วยงานพุทธศิลป์แบบไทใหญ่-พม่า โดดเด่นไปด้วยวิหารไม้สักทั้งหลังที่มีผลงานการฉลุไม้ตกแต่งลวดลายอย่างงดงาม วัดนันตาราม ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เล่ากันว่าแต่เดิมที่ตั้งวัดแห่งนี้เป็นวัดร้างมาก่อน โดยระยะแรกสร้างเป็นเพียงวิหารไม้มุงด้วยหญ้าคา คนจึงเรียกว่าจองคา โดยคำว่าจองเป็นภาษาไทใหญ่หมายถึง วัด ส่วนคา หมายถึงมุงด้วยหญ้าคา บ้างก็เรียกจองม่าน หรือ วัดพม่า จากนั้นใน พ.ศ.2467 พ่อเฒ่าตะก่าจองนันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ คหบดีชาวปะโอ (ตองสู่) ผู้รับสัมปทานทำไม้ให้กับบริษัทค้าไม้ต่างชาติ เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบูรณะปรับปรุงเสนาสนะวัดจองคาที่ทรุดโทรมให้มีความมั่นคงแข็งแรงงดงามสมเป็นพุทธสถาน พ่อตะก่าจองนันตา (อู๋) รับเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารหลังปัจจุบัน โดยว่าจ้างช่างชาวพม่าจากจังหวัดลำปางมาออกแบบและทำการก่อสร้างเป็นวิหารไม้สักทั้งหลัง รูปทรงสถาปัตยกรรมแบบพม่า หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้นลดหลั่นกันสวยงาม มุงด้วยไม้แป้นเกล็ด เพดานประดับประดาด้วยกระจกสีลวดลายวิจิตร ใช้เวลาร่วม 10 ปีจึงสำเร็จสมบูรณ์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีและเป็นอนุสรณ์ผู้สร้าง จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดจากจองม่าน เป็น วัดนันตาราม เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน วิหารไม้สักแห่งวัดนันตาราม ภายในวิหารยกเป็น 3…

  • ปันธรรม: 27 พฤษภาคม 2567: ตระเตรียมตนให้ดีพร้อม เพื่อพบพานผลอันเป็นที่รัก

    ปันธรรม: 27 พฤษภาคม 2567: ตระเตรียมตนให้ดีพร้อม เพื่อพบพานผลอันเป็นที่รัก

    ลพฺภา ปิยา โอจิตฺเตน ปจฺฉา จากพุทธพจน์นี้ บอกให้เรารู้จักเตรียมพร้อมก่อนลงมือทำสิ่งใดสักสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ชีวิต ที่ควรพร้อมด้วยความรู้ ความสามารถ รวมถึง คุณธรรม เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ ซึ่งต้องเตรียมดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ดูแลเอาใจใส่ จึงจะออกดอกออกผลได้ ทั้งนี้ ในขณะที่รอผลนั้น ขอเพียงมีความมุ่งมั่นตั้งใจ อดทน รอคอยผลลัพธ์ สิ่งสำคัญ ความไม่ประมาท พร้อมรับมือกับสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ

  • วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

    วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไทย ประเทศไทย วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดโพธิ์ เปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่รวบรวมความรู้และภูมิปัญญาไทย สะท้อนผ่านศิลปกรรมโบราณ จิตรกรรมฝาผนัง ประติมากรรม และคัมภีร์โบราณ ที่ล้วนทรงคุณค่า ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกให้มาสัมผัสประสบการณ์อันล้ำค่า สถานที่น่าสนใจภายในวัดโพธิ์ พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ปางไสยาสน์ขนาดยาว 46 เมตร สูง 15 เมตร ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร เต็มไปด้วยลวดลายอันวิจิตรบรรจง พระระเบียงคด เดินชมพระระเบียงคด ชมประติมากรรมพระพุทธรูปปางต่างๆ กว่า 150 องค์ แต่ละองค์ล้วนมีความงดงามและเอกลักษณ์เฉพาะตัว สะท้อนให้เห็นถึงฝีมือช่างไทยโบราณ จารึกวัดโพธิ์ เรียนรู้ภูมิปัญญาไทยโบราณผ่านจารึกวัดโพธิ์ จารึกบนแผ่นหินอ่อนที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ การแพทย์ โหราศาสตร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล…

  • บทสวดมนต์: โมระปะริตตัง (อุเทฯ)

    บทสวดมนต์: โมระปะริตตัง (อุเทฯ) อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชาหะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโสตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสังตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสังเย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเมเต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุนะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยานะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยาอิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชาหะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโสตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสังตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติงเย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเมเต เม นะโม เต…

  • วัดขุนอินทประมูล ต.บางพลับ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง

    วัดขุนอินทประมูล ต.บางพลับ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง

              วัดขุนอินทประมูล ตั้งอยู่ที่ ต. บางพลับ อ. โพธิ์ทอง จ. อ่างทอง มีประวัติเล่าขานว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนต้น ในรัชสมัยของพระยาเลอไท และถูกปล่อยทิ้งร้างไว้ และมีตำนานว่าในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นายอากรตำแหน่งขุนอินทประมูลได้ใช้ทรัพย์สินส่วนตัวบูรณะซ่อมแซมแต่มีข้อครหาว่ายักยอกเงินภาษีของรัฐมาสร้าง จึงถูกสอบสวนและลงโทษจนเสียชีวิต โดยร่างของขุนอินทประมูลถูกฝังไว้ในเขตพระวิหาร วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดพระนอนขุนอินทประมูล (คาดว่าเป็นตำนานจากการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ในบริเวณด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์เมื่อปี พ.ศ. 2541) ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า ทรงแวะที่วัดแห่งนี้เพื่อนมัสการพระพุทธไสยาสน์ถึง 2 ครั้ง และโปรดฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์วัดเรื่อยมา ภายในวัดขุนอินทประมูล มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้ พระพุทธไสยยาสน์           พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า พระนอนองค์ใหญ่, พระศรีเมืองทอง…

  • ปันธรรม: 15 พฤศจิกายน 2566 ความวิวาทเป็นภัย สามัคคีมีน้ำใจต่อกันดีกว่า

    ปันธรรม: 15 พฤศจิกายน 2566 ความวิวาทเป็นภัย สามัคคีมีน้ำใจต่อกันดีกว่า

    ปันธรรม: ความวิวาทเป็นภัย สามัคคีมีน้ำใจต่อกันดีกว่า วิวาทํภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโตสมคฺคา สขิลา โหถ เอสาพุทฺธานุสาสนี ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และเห็นความไม่วิวาทโดยเป็นทางเกษม แล้วจงกล่าววาจาอ่อนหวานอันสมัครสมานกันเถิด ในพระพุทธศาสนา แนวคิดการจัดการความขัดแย้ง จึงประกอบด้วย การกล่าววาจาที่อ่อนหวาน การสร้างความสามัคคีปรองดองพร้อมเพรียงกันในหมู่คณะและมีความประนีประนอมต่อกันและกัน จึงจะเกิด สันติภาพ ซึ่งเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา เพิ่มเติมเรื่องสันติภาพ สันติภาพตามวิทยาการสมัยใหม่ หมายถึง สภาวะแห่งความสันติ การไม่มีสงคราม ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น หรือ การยุติความขัดแย้งให้สงบลง หรือหมายถึงสถานะแห่งความเงียบ หรือความสุข ในตัวบุคคล โดยเน้นไปถึง สันติภาพภายนอก วิธีการสร้างสันติภาพตามวิทยาการสมัยใหม่จึงมุ่งเน้นไปที่การต่อต้านความไม่ยุติธรรม ต่อต้านการเอารัดเอาเปรียบ ต่อต้านความรุนแรง ต่อต้านความขัดแย้ง ต่อต้านสงคราม ต่อสู้รณรงค์เพื่อเรียกร้องให้เกิดสันติภาพทั้งในแง่สันติภาพของบุคคล ในสังคม ประเทศ และโลก สันติภาพตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง…

  • วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อ.เมือง จ.สกลนคร

    วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อ.เมือง จ.สกลนคร

              วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตั้งอยู่ ถ.เจริญเมือง อ.เมือง จ.สกลนคร สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัด แต่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคติการบูชารอยพระพุทธบาทผ่านตำนานอุรังคธาตุ ที่กล่าวถึงกำเนิดพระธาตุเชิงชุมไว้ว่า ในสมัยพุทธกาลเมื่อพระพุทธองค์พร้อมพระอรหันตสาวก ได้เสด็จโปรดสัตว์และประทับรอยพระพุทธบาทตามสถานที่ต่าง ๆ ในแถบลุ่มน้ำโขง เมื่อเสด็จมายังเมืองหนองหารหลวงซึ่งสันนิษฐานว่าคือ เมืองสกลนคร ปัจจุบัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาททับซ้อนลงบนรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าในอดีตทั้ง 3 พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันโธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า และพระกัสสปพุทธเจ้า ที่ได้เคยเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้แล้วในบริเวณที่ เรียกว่า ภูน้ำลอด ซึ่งสันนิษฐานว่าคือบริเวณที่ตั้งของพระธาตุเชิงชุมในปัจจุบัน พระยาสุวรรณกิงคารผู้ครองเมืองหนองหารหลวงจึงโปรดให้ก่ออบมุง (อุโมงค์) ครอบรอยพระบาทดังกล่าวไว้ จึงเป็นที่มาของนาม พระธาตุเชิงชุม ซึ่ง เชิงชุม หมายถึง การมีรอยเท้ามาชุมนุมกันอยู่ พระธาตุเชิงชุมแบบศิลปะล้านช้าง สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ พระธาตุเชิงชุม           พระธาตุเชิงชุม เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน…

  • ปันธรรม: 31 ตุลาคม 2566 ความรู้ คือ สิ่งงอกงามอันประเสริฐสุด

    ปันธรรม: 31 ตุลาคม 2566 ความรู้ คือ สิ่งงอกงามอันประเสริฐสุด

    วิชฺชา อุปฺปตตํ เสฏฺฐา บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชชาประเสริฐที่สุด พุทธพจน์นี้ มาจากเมื่อครั้งหนึ่งมีเทวดาทูลถามพระพุทธเจ้าว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น สิ่งอะไรหนอประเสริฐ บรรดาสิ่งที่ตกไป อะไรหนอประเสริฐ บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า ใครเป็นผู้ประเสริฐ บรรดาชนผู้แถลงคารม ใครเป็นผู้ประเสริฐ ฯ เทวดาองค์หนึ่งที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ ได้ฟังคำถาม จริงกล่าวแทรกขึ้นมาว่า “เหตุใดท่านจึงถามปัญหาเช่นนี้กับพระพุทธองค์ เราจะตอบคำถามของท่านเอง” จากนั้นจึงตอบคำถามตามความเชื่อของตนว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ข้าวกล้าเป็นประเสริฐ (เพราะเมื่องอกแล้วก็จะเป็นอาหาร) บรรดาสิ่งที่ตกไป ฝนเป็นประเสริฐ (เพราะเมื่อฝนตก ข้าวกล้าทั้งหลายก็จะงอกขึ้น) บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า เหล่าโคเป็นประเสริฐ(เพราะสัตว์ทั้งหลายเมื่อได้บริโภค เบญจโครส [1] แล้วก็จะอยู่สบาย) บรรดาชนผู้แถลงคารม บุตรเป็นประเสริฐ (เพราะบุตรนั้นไม่กล่าวร้ายให้มารดาบิดา) เทวดาองค์อื่นที่ฟังอยู่ แม้จะได้คำตอบจากเทวดาด้วยกัน แต่ก็ยังยืนยันที่จะถามคำถามเหล่านี้กับพระพุทธเจ้าอีกครั้ง พระพุทธเจ้าจึงตรัสพุทธพจน์ขึ้นต้นว่า วิชฺชา อุปฺปตตํ เสฏฺฐา … เป็นคำตอบว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ความรู้เป็นประเสริฐ (เพราะความรู้…

  • วัดนางสาว ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

    วัดนางสาว ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

              วัดนางสาว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ต. ท่าไม้ อ. กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร เป็นวัดเก่าแก่ที่ไม่มีหลักฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยสันนิษฐานจากลักษณะของพระอุโบสถที่มีฐานแอ่นโค้งแบบท้องเรือสำเภาได้ที่นิยมสร้างกันในสมัยนั้น           มีเรื่องเล่ากันมาว่า ในสมัยนั้นที่จังหวัดสมุทรสาครยังเป็นเมืองสาครบุรี เมืองชายฝั่งทะเลตอนใต้ของกรุงศรีอยุธยา มีชาวไทยกลุ่มหนึ่งอพยพหนีภัยสงครามมาถึงวัดร้างอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ในบริเวณนั้นมีโบสถ์เก่าอยู่หลังหนึ่งเป็นโบสถ์ที่ทึบมากไม่มีหน้าต่าง จึงได้พากันวิ่งเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ ซึ่งในกลุ่มนั้นมีหญิงสาวสองคนเป็นพี่น้องกัน ที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่าหากรอดพ้นจากภัยอันตรายครั้งนี้จะบูรณะซ่อมแซมโบสถ์ และสร้างวัดให้ใหม่           หลังจากปลอดภัยจากอันตราย สงครามสงบลง หญิงสาวสองพี่น้องทำมาหากินจนเริ่มมีฐานะจึงคิดจะบูรณะโบสถ์และวัดตามคำอธิษฐาน แต่คนพี่เห็นว่าโบสถ์นั้นเก่ามากแล้วยากแก่การบูรณะซ่อมแซม เมื่อต่อมาได้แต่งงานและย้ายไปอยู่กับสามี จึงได้สร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดกกเตย แต่ชาวบ้านมักจะเรียกว่า วัดพี่สาว (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ส่วนหญิงคนน้องที่ครองตัวเป็นโสด และมุ่งมั่นบูรณะโบสถ์พร้อมสร้างวัดใหม่ดังคำที่ตั้งจิตอธิฐานไว้จนสำเร็จ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า วัดพรหมจารี…

  • ปันธรรม: 16 ตุลาคม 2566 ถึงเป็นเรื่องจริงเรื่องดี ก็ควรพูดให้ถูกเวลา

    ปันธรรม: 16 ตุลาคม 2566 ถึงเป็นเรื่องจริงเรื่องดี ก็ควรพูดให้ถูกเวลา

    ถึงเป็นเรื่องจริงเรื่องดี ก็ควรพูดให้ถูกเวลา วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ วาจัง ปะมุญเจ กุสะลัง นาติเวลัง ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินกาล คำพูดนั้นมีความสำคัญมาก คำพูดที่ดีย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ คำพูดที่ไม่ดีย่อมก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย ดังนั้นจึงควรพูดแต่คำพูดที่ดี และต้องพูดให้เหมาะกับกาลเทศะด้วย คำพูดที่ดีนั้น ประกอบด้วยลักษณะ 5 อย่าง ดังนี้ 1) กล่าวในกาลที่สมควร 2) กล่าวคำสัตย์ 3) กล่าววาจาสุขุม ละเอียด ไม่หยาบคาย 4) กล่าวคำที่มีประโยชน์ในชาตินี้และชาติหน้า 5) กล่าวคำประกอบไปด้วยจิตเมตตา นิทานชาดก: ราธชาดก พราหมณ์กับนกแขกเต้า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดนกแขกเต้า ชื่อว่า ราธะ มีน้องชื่อ โปฏฐปาทะ พรานคนหนึ่งจับลูกนกแขกเต้าสองพี่น้อง ไปให้แก่พราหมณ์คนหนึ่งในกรุงพาราณสี พราหมณ์เลี้ยงดูนกแขกเต้าไว้ในฐานะบุตร โดยพราหมรณ์มีภรรยาเป็นแต่นางพราหมณี ที่เป็นหญิงไม่รักษาเนื้อรักษาตัว เป็นคนทุศีล วันหนึ่ง ก่อนพราหมณ์จะไปทำการค้า…